วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

เอ็ม4 เชอร์แมน

เอ็ม4 เชอร์แมน




เอ็ม4 เชอร์แมน (อังกฤษM4 Sherman) เป็นรถถังหลักที่ใช้โดยสหรัฐอเมริกาในสงครามโลกครั้งที่ 2 มันยังได้ทำหน้าที่ในกองกำลังของสัมพันธมิตรในอีกหลายประเทศเช่นกัน มันพัฒนามาจากรถถังขนาดกลางและเบาที่เกิดขึ้นก่อนหน้าโดยเป็นรถถังคันแรกของอเมริกาที่มีป้อมปืนซึ่งสามารถหมุนได้รอบทิศทาง เชอร์แมนคันแรกก็มากเกินที่จะเอาชนะยานเกราะของเยอรมนีในแอฟริกาเหนือ
การผลิตเชอร์แมนมีมากกว่า 5 หมื่นคันและเชสซีของมันได้เป็นพื้นฐานของยานเกราะมากมายอย่างรถถังพิฆาต รถกู้รถถัง และปืนใหญ่อัตตาจร ในอังกฤษเอ็ม4 ถูกเรียกว่าเชอร์แมนตามชื่อของนายพลวิลเลียม เทคัมเซ เชอร์แมน เพราะว่าอังกฤษชอบนำชื่อของนายพลที่มีชื่อเสียงจากสงครามกลางเมืองอเมริกามาตั้งเป็นชื่อรถถังที่พวกอเมริกันเป็นคนสร้าง ต่อมาชื่อที่อังกฤษใช้ก็เริ่มถูกนำไปใช้โดยสหรัฐ
การใช้เชอร์แมนตามหลักยุทธวิธีนั้นคือเน้นไปที่จำนวนและความคล่องตัว เพราะว่ามันมักด้อยกว่าเมื่อต่อต้องเจอกับรถถังไทเกอร์ 1 และรถถังแพนเธอร์ที่มีเกราะหนากว่าและอำนาจการยิงที่เหนือกว่า มีเพียงรถถังที-34 ของโซเวียตเท่านั้นที่สร้างมากกว่าเชอร์แมน รถถังที่ก้าวหน้าที่สุดของอเมริกาคือเอ็ม 26 เพอร์ชิง แต่มันถูกสร้างขึ้นมาช้าเกินไปที่จะเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 การพัฒนารถถังหลังจากสงครามจะเริ่มบนพื้นฐานของเอ็ม26 แต่เชอร์แมนและแบบอื่นๆ ของมันยังคงถูกใช้ฝึกและรบต่อไปในสงครามเกาหลีและสงคราม 6 วันเมื่อเข้าศตวรรษที่ 20


ไฟของนักบุญเอลโม

ไฟของนักบุญเอลโม


ไฟของนักบุญเอลโม (อังกฤษSt. Elmo's fire) เป็นปรากฎการณ์ในทางสภาพอากาศอย่างหนึ่ง ที่พลาสมาแบบส่องสว่างถูกสร้างขึ้นจากปรากฏการณ์โคโรนาซึ่งเป็นการปล่อยประจุไฟฟ้าจากวัตถุที่มีปลายแหลม ในสภาพบรรยากาศที่มีสนามแม่เหล็กสูง (เช่น ในขณะที่กำลังมีพายุ หรือในระหว่างการระเบิดของภูเขาไฟ) แสงไฟของนักบุญเอลโมจะปรากฎเป็นแสงเรืองสีฟ้าสดใส หรือเป็นสีม่วง และมักมีลักษณะเป็นแสงพวยพุ่งออกจากวัตถุที่เป็นแท่งยาว ๆ หรือมีปลายแหลม เช่น เสากระโดงเรือ บราลี ส่วนยอดของปราสาท จนไปถึงปลายปีกเครื่องบิน
ไฟของนักบุญเอลโม ถูกตั้งชื่อตามนักบุญเอราสมุส แห่งฟอร์เมีย (St. Erasmus of Formia) ซึ่งชาวอิตาลีเรียกว่า นักบุญเอลโม โดยถือกันว่าท่านเป็นนักบุญผู้คุ้มครองกะลาสีและนักเดินเรือ




ไกรทอง


ไกรทอง

เรื่องย่อ

กาลครั้งหนึ่ง มีถ้ำแก้ววิเศษเป็นที่อยู่ของจระเข้(ใต้) ในถ้ำมีลูกแก้ววิเศษที่ส่องแสงดุจเวลากลางวัน จระเข้ทุกตัวที่เข้ามาในถ้ำจะกลายเป็นมนุษย์ มีท้าวรำไพ เป็นจระเข้เฒ่าผู้ทรงศีล ไม่กินเนื้อมนุษย์และสัตว์ มีบุตรชื่อ ท้าวโคจร ซึ่งนิสัยแตกต่างจากพ่อโดยสิ้นเชิง ท้าวโคจรมีบุตรชื่อ ชาละวัน วันหนึ่ง ท้าวโคจร เกิดทะเลาะวิวาทกับท้าวแสนตาและพญาพันวัง(เหนือ) ท้าวโคจรโกรธที่ท้าวแสนตาฆ่าลูกน้องของตนจึงเข้ามาขอท้าสู้ แต่ท้าวแสนตาก็ไม่อาจสู้กำลังของท้าวโคจรได้ พญาพันวังโมโหที่ท้าวโคจรฆ่าพี่ชายของตนจึงขึ้นมาสู้กับท้าวโคจร สุดท้ายทั้งสามก็จบชีวิตลงจากบาดแผลที่เกิดจากการสู้รบกัน
หลังจากนั้น พญาชาละวัน บุตรของท้าวโคจร ก็ได้ขึ้นเป็นผู้ปกครองถ้ำบาดาลโดยไม่มีใครกล้าท้าทายอำนาจ และได้จระเข้สาวสองตัวเป็นเมียคือ วิมาลา กับ เลื่อมลายวรรณ ด้วยความลุ่มหลงในอำนาจ ชาละวันจึงมีนิสัยดุร้ายต้องการกินเนื้อมนุษย์ และไม่รักษาศีลเหมือนท้าวรำไพผู้เป็นปู่แต่อย่างใด เพราะถือว่าตนเป็นผู้ปกครองถ้ำ มีอำนาจอยากจะทำอะไรก็ได้
ณ เมืองพิจิตร มีเหตุการณ์จระเข้อาละวาดออกมากินคนที่อยู่ใกล้คลอง วันหนึ่ง พี่น้องคู่หนึ่ง ชื่อนางตะเภาแก้ว ผู้พี่ และนางตะเภาทอง ผู้น้อง ทั้งสองเป็นธิดาของเศรษฐี อยากที่จะลงไปเล่นน้ำที่คลอง เศรษฐีห้ามแต่สองพี่น้องก็ยังรบเร้าที่จะไปโดยบอกว่ามีพี่เลี้ยงลงไปด้วย เศรษฐีจึงใจอ่อนยอมให้ตะเภาแก้วและตะเภาทองลงไปเล่นน้ำ ในเวลานั้น ชาละวัน ซึ่งกลายร่างเป็นจระเข้ยักษ์นิสัยอันธพาล ได้ออกจากถ้ำอาละวาดล่าหามนุษย์เป็นเหยื่อ สร้างความวุ่นวายไปทั่วเมือง และได้ว่ายน้ำผ่านมาเห็นตะเภาทองที่แม่น้ำแถวบ้านท่านเศรษฐี ก็เกิดความลุ่มหลงทันทีจึงคาบตะเภาทองแล้วดำดิ่งไปยังถ้ำทองด้วยความเหิมลำพอง
เมื่อนางตะเภาทองฟื้นขึ้นมา ก็ตกตะลึงในความสวยของถ้ำ และได้เห็นพญาชาละวัน ซึ่งกลายร่างเป็นชายรูปงาม ชาละวันเกี้ยวพาราสีแต่นางไม่สนใจ ชาละวันจึงใช้เวทมนตร์สะกดให้นางหลงรักและยอมเป็นภรรยา เมียของชาละวันคือ วิมาลา และเลื่อมลายวรรณ เห็นก็ไม่พอใจและหึงหวงแต่ก็ห้ามสามีไม่ได้
ท่านเศรษฐีเสียใจมาก จึงประกาศไปว่าใครที่พบศพนางตะเภาทอง และสามารถปราบจระเข้ตัวนี้ได้จะมอบสมบัติของตนเองให้ครึ่งหนึ่ง และจะให้แต่งงานกับนางตะเภาแก้ว แต่ไม่ว่าจะมีผู้มีอาคมอาคมมาปราบชาละวันกี่คน ก็จะตกเป็นเหยื่อให้ชาละวันเอาไปนั่งกินเล่นทุกราย และแล้วก็ได้ ไกรทอง หนุ่มรูปหล่อจากเมืองนนทบุรี ซึ่งได้ร่ำเรียนวิชาการปราบจระเข้จากอาจารย์คง จนมีความเก่งกล้า ฤทธิ์อาคมแกร่ง ได้รับอาสามาปราบชาละวัน

Nuclear

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชัน

ฟิวชัน (fusion ) คืออะไร ?
ฟิวชันใช้หลักการที่มีพลังงานปลดปล่อยออกมา จากการทำให้นิวเคลียสของอะตอมของธาตุเข้ารวมกัน 
ซึ่งแตกต่างจากกรณีของปฏิกิริยาฟิชชัน ที่ให้พลังงานออกมาจากการทำให้นิวเคลียสของอะตอมของ
ธาตุแตกออก ซึ่งมีการใช้อยู่ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในปัจจุบัน
ที่ใจกลางของดวงอาทิตย์ มีความกดดันจากแรงโน้มถ่วงมหาศาล ทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชันได้ 
ที่อุณหภูมิสูงในระดับ 10 ล้านองศาเซลเซียส แต่บนโลกมีความดันต่ำกว่ามาก การทำให้เกิด
ปฏิกิริยาฟิวชัน ต้องใช้อุณหภูมิที่สูงกว่า 100 ล้านองศาเซลเซียส
จนถึงวันนี้ ยังไม่มีวัตถุใดบนโลกที่สามารถคงรูปอยู่ได้ เมื่อสัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงขนาดนั้น การทำ
ให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชันให้ได้ นักวิทยาศาสตร์ต้องหาวิธีการแก้ปัญหา การกักเก็บก๊าซที่ร้อนจัด 
(super-heated gas) หรือพลาสมา (plasma) ให้รวมกลุ่มกันอย่างหนาแน่นในสนามแม่เหล็กรูปวงแหวน
หรือโดนัท
อะไรเป็นจุดเด่นของฟิวชัน ?
เชื้อเพลิงที่ดีที่สุดของปฏิกิริยาฟิวชัน ประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 ชนิด หรือ 2 ไอโซโทป คือ deuterium
กับ tritium ซึ่งแต่เดิมสกัดออกมาจากน้ำ ที่มีอยู่ปริมาณมากและพบได้ทั่วไป ต่อมาภายหลังสามารถผลิตได้จากลิเทียม (lithium) ซึ่งเป็นธาตุที่มีอยู่ปริมาณมากบนเปลือกโลก
ปฏิกิริยาฟิวชัน แตกต่างจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เนื่องจากไม่มีก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งนักวิทยาศาตร์ถือว่าเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก ที่ทำให้โลกร้อนขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ด้านฟิวชันกล่าวว่า ระบบมีความปลอดภัยในตัวเองอยู่แล้ว เนื่องจากการทำงานที่ปกติ จะส่งผลให้ระบบปิดตัวเองลงทันที
Iter จะทำให้เกิดกากกัมมันตรังสีหรือไม่?
ใช่แล้ว นิวตรอนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาฟิวชัน จะทำปฏิกิริยากับวัสดุที่ใช้ทำผนังของอุโมงค์กักเก็บพลาสมา (plasma chamber) ของ Iter แต่ภารกิจอีกอย่างหนึ่งของโครงการนี้ คือการหาวัสดุที่ดีที่สุด ที่จะคงทนต่อการยิงด้วยนิวตรอนนี้ได้











ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ nuclear fusion คือ






Profile



Name : กรวุฒิ  ใจบาล 
Age : 17  
Date of birth : 02/11/2544
Favorite color : Light blue
Things I like : หมาและการนอน
Things I hate : แมลงสาบ
Favorite Subject : English
Least favorite subject : Math
Email : madaonight@gmail.com
Contact number : 0972375799


                                                                                           

>Back to Homepage































                                             






       



                                                                 Please kill me