เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชัน
ฟิวชัน (fusion ) คืออะไร ?
ฟิวชันใช้หลักการที่มีพลังงานปลดปล่อยออกมา จากการทำให้นิวเคลียสของอะตอมของธาตุเข้ารวมกัน
ซึ่งแตกต่างจากกรณีของปฏิกิริยาฟิชชัน ที่ให้พลังงานออกมาจากการทำให้นิวเคลียสของอะตอมของ
ธาตุแตกออก ซึ่งมีการใช้อยู่ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในปัจจุบัน
ที่ใจกลางของดวงอาทิตย์ มีความกดดันจากแรงโน้มถ่วงมหาศาล ทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชันได้
ที่อุณหภูมิสูงในระดับ 10 ล้านองศาเซลเซียส แต่บนโลกมีความดันต่ำกว่ามาก การทำให้เกิด
ปฏิกิริยาฟิวชัน ต้องใช้อุณหภูมิที่สูงกว่า 100 ล้านองศาเซลเซียส
จนถึงวันนี้ ยังไม่มีวัตถุใดบนโลกที่สามารถคงรูปอยู่ได้ เมื่อสัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงขนาดนั้น การทำ
ให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชันให้ได้ นักวิทยาศาสตร์ต้องหาวิธีการแก้ปัญหา การกักเก็บก๊าซที่ร้อนจัด
(super-heated gas) หรือพลาสมา (plasma) ให้รวมกลุ่มกันอย่างหนาแน่นในสนามแม่เหล็กรูปวงแหวน
หรือโดนัท
|
อะไรเป็นจุดเด่นของฟิวชัน ?
เชื้อเพลิงที่ดีที่สุดของปฏิกิริยาฟิวชัน ประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 ชนิด หรือ 2 ไอโซโทป คือ deuterium
กับ tritium ซึ่งแต่เดิมสกัดออกมาจากน้ำ ที่มีอยู่ปริมาณมากและพบได้ทั่วไป ต่อมาภายหลังสามารถผลิตได้จากลิเทียม (lithium) ซึ่งเป็นธาตุที่มีอยู่ปริมาณมากบนเปลือกโลก
ปฏิกิริยาฟิวชัน แตกต่างจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เนื่องจากไม่มีก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งนักวิทยาศาตร์ถือว่าเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก ที่ทำให้โลกร้อนขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ด้านฟิวชันกล่าวว่า ระบบมีความปลอดภัยในตัวเองอยู่แล้ว เนื่องจากการทำงานที่ปกติ จะส่งผลให้ระบบปิดตัวเองลงทันที
Iter จะทำให้เกิดกากกัมมันตรังสีหรือไม่?
ใช่แล้ว นิวตรอนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาฟิวชัน จะทำปฏิกิริยากับวัสดุที่ใช้ทำผนังของอุโมงค์กักเก็บพลาสมา (plasma chamber) ของ Iter แต่ภารกิจอีกอย่างหนึ่งของโครงการนี้ คือการหาวัสดุที่ดีที่สุด ที่จะคงทนต่อการยิงด้วยนิวตรอนนี้ได้
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น